วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

Asiatique

Asiatique - แหล่ง Shopping และ ถ่ายรูปย่านเจริญกรุง

สวัสดีครับ วันนี้เราก็ด้มีโอกาสไปเที่ยวที่ Asiatique ย่านเจริญกรุง
การเดินทางก็สะดวกดีครับ นั่งรถไฟฟ้าไปลงที่สถานีตากสิน มานั่งเรือของ Asiatique ไปได้เลย เค้ามีเรือรับส่งอยู่แล้ว ที่นี่เปิดตั้งแต่เวลา 16:00 - 24:00 ถ้าไม่อยากนั่งเรือไป ก็เรียก Taxi ไปได้้นะ ราคาอยู่ที่ประมาณ 60 บาท แต่ถ้าเป็นสามล้อ จะโดนเรียกราคา 80 บาท (- -")

แต่สำหรับคนบ้านใกล้แบบผม เดินข้ามสะพานตากสินไปนั่งเรือต่อแทนครับ




นั่ง Taxi มาถึงแล้วครับ ตรงนี้เป็นตึกแรกที่เจอจากทางเข้า คนเยอะแล้วก็รถติดมาก
ข้างใน ก็แบ่งโซนเป็นเลขที่โกดัง แต่ละโกดังก็จะมีของขายต่างๆกันไป บางโกดังก็เป็นร้านอาหารอย่างเดียว
แต่ร้านค้าที่นี่ ก็ออกแนวเดียวกับไนท์บาร์ซาร์ทั่วไป สำหรับผู้ชาย เลยดูไม่ค่อยมีอะไรน่าซื้อเท่าไหร่
ซอยระหว่างโกดังก็จะมีอะไรให้เราดู ให้เราถ่ายรูปกันเรื่อยๆ ลุงคนนี้เป็นจิตรกรที่เอาผลงานตัวเองมาตั้งแสดงครับ
เข้าใจว่าขายด้วยเหมือนกัน บางซอยบ้างก็มีรำไทย บ้างก็มีรับจ้างวาดรูป


การตกแต่งข้างในโกดัง จะเป็นการนำชิ้นส่วนเรือ หรือไม้เก่าๆมาใช้ ก็ดูดีไปอีกแบบ
ข้างนอกโกดังฝั่งท่าเรือ อากาศดี คนก็มานั่งเล่น เดินเล่น ถ่ายรูปกันเยอะ




มืดแล้ว เริ่มหิว ก็มาหาของกินกันครับ


ร้านอาหารมากมาย แต่จำนวนคนก็เยอะตามไปด้วย หลายๆร้านคนแน่นจนไม่มีที่นั่ง แ้ล้วก็ต้องรอคิวนานมาก แต่ในความโชคร้ายก็ยังมีความโชคดีเหลืออยู่
อย่างน้อย ก็ยังได้กินอาหารญี่ปุ่น "ราเม็ง" ครับ (T^T)
รสชาด สำหรับผมก็อร่อยดีนะ แต่ผมกินอะไรก็อร่อยไปหมดแหละ 555

มาถ่ายรูปภายในกันอีกครั้งครับ สังเกตุดีๆ จะมีร้าน iStudio ด้วย
รู้สึกว่าไม่เข้ากันกับสถานที่เลยอะ  (-..- )

ตรงนี้ ก็เป็นเวทีไว้แสดงความสามารถครับ มีวงดนตรีมาแสดงเรื่อยๆอยู่แล้ว แต่แนวเพลง ก็แนววัยรุ่นล่ะครับ
ผู้ใหญ่หลายๆคนอาจจะไม่ชอบหรือรู้สึกรำคาญเล็กน้อย

มีรถรางบริการด้วยครับ มีราง แต่ไม่ได้วิ่งบนรางนะ อิอิ รู้ๆกันอยู่
รถรางคันนี้ก็วิ่งระหว่าง ทางเข้าด้านหน้า-ท่าเรือด้านหลังครับ ถ้าขี้เกียจเดิน ก็นั่งรถรางก็ได้
ระหว่างทางเค้าจะจอดแถวๆลานเวทีแสดงกิจกรรมครับ

ขากลับ ก็มานั่งเรือด้านหลัง  เห็นคนเอาจักรยานมากันเยอะเลยทีเดียว มีทั้งกลุ่ม Fix Gear, เสือหมอบ แล้วก็รถพับ


อำลากันด้วยภาพบรรยากาศริมน้ำกันครับ



วันจันทร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2555

ปั่นแล้วกิน ที่ ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง

ไม่ได้มาเขียน blog ซะนานมาก ยอมรับเลยว่าลืมไปแล้วว่ามี blog 555

    เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาผมไปตลาดน้ำบางน้ำผึ้งมาครับ
เดินทางออกจากบ้านที่คลองสานตอนบ่ายสอง พร้อมกับน้องชิลล์ด้าคู่ใจ (จักรยาน Strida คับ แหะๆ)
พอดีว่าจักรยานมันพับแล้วเล็ก ก็เลยพับขึ้นรถเมลล์ซะเลย

รูปจักรยานผมครับ

ถ้าพับก็เหลือแค่นี้ เอาขึ้นรถเมลล์แอร์หรือรถไฟฟ้าสบายๆ คนเยอะก็เอาขึ้นมาแล้ว ^.^

ถ้าเรานั่งรถเมลล์สาย 6 จากท่าน้ำคลองสาน ก็จะใช้เวลาประมาณ 30 นาทีไปถึง พระประแดง
หลังจากนั้น ก็เอาจักรยานลงมาก็ปั่นไปต่อ แต่ก็ปั่นมั่วแล้วก็ถามทางเค้าไปเรื่อยๆ แหะๆ
จริงๆแล้วมันก็มีรถสองแถวนะ ไปถึงเลย ถ้าไม่เอาจักรยานไปก็คงนั่งสองแถวไปละ

รูปตอนลงรถเมลล์ที่พระประแดงครับ แดดเปรี้ยงๆ สะพานด้านหลังเป็นถนนวงแหวนอุตสาหกรรมครับ

หลังจากปั่นมาเรื่องๆ เจอสะพานนี้เข้าไป ตอนแรกก็งงเลยทีเดียว ไม่รุ้ว่ามันไปไหน เลยถามทางคนแถวนั้น เค้าก็บอกว่าเป็นทางข้ามไปตลาดน้ำครับ

รูปนี้หยุดถ่ายบนสะพานครับ เป็นประตูระบายน้ำลงแม่น้ำเจ้าพระยา

หลังจากนั้นก็ปั่นไปเรื่อยๆตามทางอีกประมาณ 5 กิโลเมตร ก็จะเจอทางเข้าตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง
เช่นเคย ไปถึงมีแต่คนถามเรื่องจักรยาน ตอบกันยาวครับ

มาถึงเวลาบ่ายสองกว่าๆ คนเริ่มน้อยครับ แต่ก็สะดวกสำหรับการลากจักรยานเข้าไปเหมือนกัน
เสียดายว่าไปคนเดียว ไม่งั้นจะให้คนอื่นถ่ายรูปตอนจูงจักรยานละ

มาถึง ก็หิวทันที เลยหาร้านนั่งกิน เดินไปเดินมาก็มานั่งร้านก๋วยเตี๋ยวต้มยำ ราคาปกติครับ ชามละ 30
แล้วก็สั่งน้ำมะพร้าวกิน ราคาแพงกว่าที่คิดนิดนึง 15 บาทครับ


กินเสร็จ ก็เดินไปเรื่อยๆ เพื่อหาของกินต่อ
เอ้ย ไม่ช่ายยย... เดินย่อยคร้าบ (แล้วค่อยกินต่อ ;P)
สุดท้ายก็ได้ขนมถังแตกมากิน แต่ไม่ได้ถ่ายรูปไว้นะ ไม่อยากให้น้ำลายไหลกัน
เดินมั่วๆไป ก็เจอร้านกาแฟ เป็นแบบบ้านคน ตกแต่งดูน่านั่งมากครับ 
มาดูรูปกันเลย











หลังจากนั่งพักกินชาเย็นเสร็จ ก็ได้เวลาปั่นกลับ
ตอนปั่นกลับพอดีไปเจอกลุ่มพระราม 8 เลยตามๆเค้ากลับมาด้วย 555
คุยกับกลุ่มพระราม 8 เห็นเค้าว่าจะปั่นกันวันอาทิตย์เช้าๆ เจอกันที่ใต้สะพานพระราม 8 ปั่นเข้าสวนหรือปั่นไปหาของกินกัน น่าสนมากครับ 

แผนที่เส้นทางปั่นครับ

ดู
คลองสาน - ตลาดน้ำ บางน้ำผึ้ง ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า









วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ผู้เชี่ยวชาญแนะวิธี “3 ไม่” เมื่อ “ฮาร์ดดิสก์” จมน้ำ


 แม้ข้าวของหลายอย่างจะเสียหายไปพร้อมกับการมาเยือนของน้ำ แต่เราก็อาจกู้ “ข้อมูล” ที่มีค่าต่อธุรกิจหลายพันล้าน หรืออาจเป็นข้อมูลที่มีค่าต่อจิตใจจนประเมินค่าไม่ได้ เพียงแค่เราปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ 3 อย่าง นั่นคือ ไม่ลองเปิดใช้งาน ไม่เปิดฝาดูเองและไม่เป่าลมให้แห้ง
       
       “ส่วนอื่นแห้งได้หมด ยกเว้นฮาร์ดดิสก์” คือคำแนะนำจาก ฉัตรณรงค์ ทรงสกุล นักวิจัยจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ซึ่งกล่าวขึ้นภายในกิจกรรมให้ความรู้ด้านข้อปฏิบัติเบื้องต้นในการกู้ข้อมูลฮาร์ดดิสก์สำหรับผู้ประสบอุทกภัย ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-3 ธ.ค.54 ณ ลานกิจกรรมศูนย์การค้าฟอร์จูนทาวน์ โดยทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ได้เข้าร่วมในกิจกรรมดังกล่าวด้วย
       
       เหตุผลที่ฉัตรณรงค์ไม่แนะนำให้เป่าแห้งฮาร์ดดิสก์ที่จมนั้นเนื่องจากจะทำให้คราบสกปรกที่มาพร้อมกับน้ำติดแน่นอยู่กับแผ่นจานบันทึกข้อมูล ทำความสะอาดได้ลำบากขึ้นและบางครั้งอาจจะทำให้ไม่สามารถกู้ข้อมูลสำคัญกลับมาได้ ซึ่งทางด้าน ไพโรจน์ เตียมังกรพันธุ์ จากบริษัท อินเตอร์ ดาต้า รีคัฟเวอรี จำกัด ตัวแทนจากภาคธุรกิจด้านการกู้ข้อมูลจากสื่อบันทึกข้อมูลดิจิทัล ได้แนะวิธีสั้นๆ ในการป้องกันข้อมูลเสียหายจากกรณีฮาร์ดดิสก์จมน้ำ คือ 1.ไม่เปิดเครื่องจ่ายกระแสไฟฟ้าให้ฮาร์ดดิสก์ 2.ไม่เปิดฝาฮารดดิสก์เอง และ 3.ไม่ทำให้ฮาร์ดดิสก์แห้ง 
       
       “ห้ามเปิดเครื่องเพราะน้ำและฝุ่นที่เข้าไปจะทำลายจานจนเสีย ทุกชิ้นส่วนเปลี่ยนได้ ยกเว้น จานบันทึกข้อมูล อย่าพยายามทำให้แห้ง หากน้ำแห้งข้างในจะทำให้ตะกอนติดอยู่และการทำความสะอาดจะยากกว่าเดิม และอย่าเปิดฝาเอง ซึ่งการเปิดฝาฮาร์ดดิสก์นั้นต้องอยู่ภายในห้องปลอดฝุ่น (Clean Room) ระดับคลาส 100 เท่านั้น ฮาร์ดดิสก์ที่จมน้ำนั้นยังอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ก่อนจมน้ำ จึงยังกู้ได้อยู่ เมื่อเทียบกับกรณีฮาร์ดดิสก์ตกแล้ว ฮาร์ดดิสก์ที่ตกจะเกิดรอยขึ้นบนแผ่นทำให้โอกาสในการกู้คืนแทบเป็นไปไม่ได้เลย” ไพโรจน์กล่าว
       
       ไพโรจน์กล่าวว่าน้ำที่เข้าในฮาร์ดดิสก์นั้นจะไม่ทำอันตรายจานบันทึกข้อมูลซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่เก็บข้อมูลอันมีค่าไว้ เมื่อส่งถึงผู้เชี่ยวชาญแล้ว ผู้เชี่ยวชาญจะล้างเอาน้ำออกก่อนที่จะบันทึกข้อมูล แต่กรณีที่น้ำเป็นกรดหรือด่างเข้าไปในฮาร์ดดิสก์หรือแผ่นจานทำปฏิกิริยากับอากาศแล้วจะเป็นปัญหาต่อการกู้ข้อมูล หรือในกรณีเลวร้ายอาจไม่สามารถกู้ข้อมูลคืนได้ โดยโอกาสที่จะกู้ข้อมูลคืนนั้นขึ้นอยู่กับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับจานบันทึกข้อมูล หากจานถูกทำลายแล้วมีโอกาสที่จะกู้คืนได้น้อย ทั้งนี้ การกู้คืนข้อมูลต้องเป็นหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญ มีสถานที่และอุปกรณ์พร้อม
       
       ส่วนฉัตรณรงค์นั้นเสริมว่า การแจ้งเหตุที่ถูกต้องแก่เจ้าหน้าที่จะช่วยได้มาก เพราะเจ้าหน้าที่จะได้แก้ไขตามขั้นตอนที่ถูกต้อง เช่น กรณีตกน้ำเจ้าหน้าที่จะได้ไม่เสียบไฟจ่ายกระแสไฟฟ้า พร้อมทั้งบอกด้วยว่าฮาร์ดดิสก์ที่เหมือนใช้งานไม่ได้แล้ว เช่น ตกน้ำ หรือฟอร์แมตหลายๆ ครั้งนั้น ยังสามารถกู้ข้อมูลกลับมาได้อยู่ โดยการฟอร์แมตก็เหมือนการลบดัชนีรายชื่อหนังสือในห้องสมุด แต่หนังสือยังคงอยู่
       
       พร้อมกันนี้ ดร.ศิริเดช บุญแสง รองคณบดี วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการข้อมูล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง อธิบายว่าชั้นเก็บข้อมูลนั้นมีความหนาในระดับอังสตรอม หรือ 10^-10 เมตร ซึ่งเล็กกว่าระดับนาโนเมตร โดยการเก็บข้อมูลบิต 0 และ 1 นั้นจะอยู่ในรูปสนามแม่เหล็กไฟฟ้า แต่ในการเขียนอ่านข้อมูลนั้นหัวอ่านจะไม่สัมผัสกับจานบันทึกข้อมูลแต่จะลอยอยู่เหนือแผ่นเหมือนเครื่องบินรอนไปมาในระยะห่างที่น้อยกว่าความกว้างของเส้นผม ซึ่งหากมีสิ่งสกปรกเข้าไปอยู่ตรงส่วนดังกล่าวจะทำให้ฮาร์ดดิสก์พังได้ อย่างไรก็ดี โอกาสที่ฝุ่นหรือสิ่งสกปรกจะเข้าไปในฮาร์ดดิสก์นั้นน้อยมาก แต่อากาศยังคงเข้าไปได้
       
       “เมื่ออากาศเข้าไปได้ น้ำก็เข้าไปได้เช่นกัน ก็ภาวนาว่าน้ำเน่าดำๆ ในภาคกลางนั้นไม่เป็นกรดมาก ถ้าเป็นกรดแล้วแย่เลย” ดร.ศิริเดชกล่าว



Credit : www.manager.co.th
http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9540000154312

วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Software Development on Android : Step by step

บทความนี้ ก็จะมาว่ากันถึงเรื่องของการ develop software บน Android กันนะครับ ผมเขียนขึ้นมาสำหรับมือใหม่มากๆจริงๆ ผมก็มือใหม่ 555

ก่อนที่เราจะมา develop ก็จำเป็นต้องมี tool สำหรับการเขียนโปรแกรมกันก่อนนะครับ
สิ่งที่เราจำเป็นต้องมี

1. Eclipse               เป็น editor ซึ่งเราใช้เขียน code นั่นเอง
2. Android SDK      SDK = Sodfware Development Kit
3. ADT Plugin         ADT = Android Development Tool
4. Java SDK

ทำตามนี้นะครับ พอดีตอนแรกพิมเป็น eng ใน notepad++ แล้วขี้เกียจแปลไทย ;P
อาจจะดูยาวไปหน่อย แต่ก็น่าจะง่ายกว่าการหาเองใน http://developer.android.com/sdk/index.html

1. Verify PC/Notebook specification in android developer website http://developer.android.com/index.html
2. Download Java SE (JDK) at http://www.oracle.com/technetwork/java/javase/downloads/jdk-6u26-download-400750.html.  For the Windows's user, I suggest to download "Windows x86",  jdk-6u26-windows-i586.exe. 

3. Download "Eclipse Classic" at http://www.eclipse.org/downloads/

4. Download Android SDK at http://developer.android.com/sdk/index.html



5. Install Eclipse
    5.1. Extract file to C:\Program Files
    5.2. Create short cut of eclipse.exe to "Desktop"

6. Install JDK
    6.1. Double click at "jdk-6u26-windows-i586.exe"
    6.2. Follow step "Next next and Finish"



7. Install Android SDK ( http://developer.android.com/sdk/installing.html )
    7.1. Double click at the instalation file "installer_r11-windows.exe"
    7.2. Click "Next next and next then finish" and wait for the long time.
    7.3. If the software tell you that JDK is not found, right click at "My Computer" , select "Properties" then select tab "Advanced", click at "Environment Variables". At the "System variables" seclect "Path" and click "Edit". Append JDK full path.



8. Install ADT Plugin for Eclipse ( http://developer.android.com/sdk/eclipse-adt.html#installing )
    8.1. Start Eclipse, then select Help > Install New Software....
    8.2. Click Add, in the top-right corner.
    8.3. In the Add Repository dialog that appears, enter "ADT Plugin" for the Name and the following URL for the Location: " https://dl-ssl.google.com/android/eclipse/ "
    8.4. Click OK
Note: If you have trouble acquiring the plugin, try using "http" in the Location URL, instead of "https" (https is preferred for security reasons).
    8.5. In the Available Software dialog, select the checkbox next to Developer Tools and click Next.
    8.6. In the next window, you'll see a list of the tools to be downloaded. Click Next.
    8.7. Read and accept the license agreements, then click Finish.
Note: If you get a security warning saying that the authenticity or validity of the software can't be established, click OK. When the installation completes, restart Eclipse.

9. Configuring the ADT Plugin ( http://developer.android.com/sdk/eclipse-adt.html#installing )
After you've successfully downloaded the ADT as described above, the next step is to modify your ADT preferences in Eclipse to point to the Android SDK directory:
    9.1. Select Window > Preferences... to open the Preferences panel (Mac OS X: Eclipse > Preferences).
    9.2. Select Android from the left panel. You may see a dialog asking whether you want to send usage statistics to Google. If so, make your choice and click Proceed. You cannot continue with this procedure until you click Proceed.
    9.3. For the SDK Location in the main panel, click Browse... and locate your downloaded SDK directory.
    9.4. Click Apply, then OK. Done! If you haven't encountered any problems, then the installation is complete. If you're installing the Android SDK for the first time, return to Installing the SDK to complete your setup.

10. Adding Platforms and Other Components ( http://developer.android.com/sdk/installing.html#components )
    10.1. From within Eclipse, select Window > Android SDK and AVD Manager.
    10.2. On Windows, double-click the SDK Manager.exe file at the root of the Android SDK directory, C:\Program Files\Android\android-sdk.


ลองทำตามดูนะครับ ถ้าติดอะไร ก็ถามมาได้ครับ ถ้าภายในสามวันผมยังๆไม่ตอบ ก็ส่งเมลล์หาได้เลยครับ

และการเขียนโปรแกรมครั้งแรก อย่างที่รุ้กัน เราก็จะเขียน "Hello World !!" กัน

ไว้ผมจะมาเขียนต่อนะครับ

วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Ayuthaya trip on June 18, 2011

สรุปทริปลุงโทรอบที่สอง ปั่นไปอยุธยาวันที่ 18 มิถุนายน 2544

วันนี้ อากาศตอนเช้า น่านอนที่สุด ไม่อยากจะตื่นเลย
แต่ก็ลงชื่อร่วมทริปไปแล้ว ก็จำเป็นต้องตื่นเช้าซะหน่อย แต่ก็ตื่นสายอะ
ตื่นมา 6:30 กว่าจะออกก็ 7 โมงละ ปั่นยิกเลย แถมหลงทางอีก กว่าจะถึง workpoint ก็ 7.30 เข้าไปแล้ว

ก่อนออกเดินทาง
ไปถึงก็เหมือนเดิมล่ะครับ ข้าวมันไก่ซักจานก่อนปั่น
กว่าจะออกตัวจริงๆก็ 8 โมง แต่คราวนี้ มีการแบ่งกลุ่มด้วย A B C แล้วแต่อยากจะอยู่กลุ่มไหน
แน่นอนครับ ระดับผมก็...C ชัวร์ๆ มีพี่เลี้ยงเยอะครับ ขาแรง ส่วนใหญ่ก็มาช่วยดูกลุ่มนี้กัน
จนเค้าบอกว่าเป็น C++ ไปแล้ว 555


เส้นทางก็ซ่อมเสร็จไปมากแล้ว ท้องฟ้าครึ้มๆเหมือนฝนจะตก ลมพัดเย็นๆเป็นระยะๆ
ปั่นสบายครับ กลุ่ม C ของเราปั่นกันที่ 22-23 Km/h  แต่บางช่วง ซัดไปเกือบ 30
ได้ลุงอั้งมาช่วยคุมความเร็ว แจ่มเลยครับ ไปกันชิลล์ๆ

จุดพักแรก ร้านน้ำเล็กๆ ก็ที่เดิมครับ ถึงสามแยก มีร้านน้ำเล็กๆ ไปถึงก็เจอกลุ่ม A,B พักกันอยู่ เค้ากำลังจะไปกันพอดี
จุดพักนี้ ก็ซื้อน้ำกินกัน พักได้ซักระยะ เราก็ออกตัวตามกันไป พอใกล้ๆจุดพักที่สอง คือปั๊มบางจาก
ได้ลุงโทช่วยเป็นหัวลากให้ ก่อนถึงปั๊มประมาณ 2Km เร่ง speed ไปที่ 27-30 km/h เหนื่อยโคตรๆครับ
ไปถึงปั๊มแล้วแทบอยากจะนั่งทันที


จุดพักที่สอง ปั๊มบางจาก เราก็แวะเข้าห้องน้ำ ซื้อน้ำกิน แล้วก็ ถ่ายรูปหมู่ครับ ทริปนี้รวมแล้ว 95 คนครับ ถือว่าเยอะมาก เดาว่าทริปต่อไป คงเกิน 100 หลังจากพักเหนื่อยกันที่จุดนี้แล้ว เราก็ออกตัวไปพร้อมกันทั้งหมดครับ ไม่มีการแบ่งกลุ่มแล้ว เราไปต่อด้วยความเร็วไม่มากนัก เพราะบางช่วง จะมีรถเยอะ



จุดพักที่สาม วัดพนัญเชิง จุดนี้ เราก็มาแวะพักเหนื่อยครับ ห่างจากปั๊มประมาณ 8 Km พอดีเค้ามีงานบวช เลยได้น้ำแข็งฟรีมา พอดีกับที่ำน้ำผมหมดพอดี รอดตายไป ระหว่างทางมา ขาซ๊ายผมก็เกือบเป็นตะคริว
เลยต้องใช้แรงขาขวาเยอะหน่อย โชคดีครับ เพราะอีกไม่ไกล จะไปถึงสวนสมเด็จแล้ว จะได้ไปหาข้าวทานที่นั่น


จุดพักที่สี่ สวนสมเด็จ มีร้านอาหารข้างทางอยู่ 4-5 ร้านครับ ผมไปกินร้านสุดท้ายพอดี ซักข้าวราดแกงกับก๋วยเตี๋ยวไป ก็พออยู่ท้องครับ 555 ช่วงนี้ อยู่ดีๆแดดก็แรงมาซะงั้น แต่ก็ยังดีกว่าฝนตกล่ะครับ 555
ที่จุดนี้ ก็ได้คุยกับคุณชาและพี่ลี ได้เพื่อนเพิ่มมาอีก 2 คน จากจุดนี้เราก็เดินทางต่อไปที่ไปอุทยานประวัติศาสตร์อยุธยาครับ ซึ่งเป็นจุดสุดท้ายของการเดินทางก่อนกลับ ที่จุดนี้เราก็มาถ่ายรูปกันเหมือนเคยครับ ได้เพื่อนเพิ่มอีกคน ชื่อคุณกิต คนนี้ปั่นหมอบครับ อยู่กลุ่ม C เหมือนกัน แต่เพิ่งได้คุยกัน





กลุ่มรถพับเรียงราย

สาวๆถ่ายรูปกันอย่างสนุกสนาน 555

ขากลับเราก็ปั่นผ่านหมู่บ้าน ซึ่งผมมมั่นใจว่า ถ้าหลุดไป กลับบ้านไม่เป็นแน่นอน เอิ้กๆ
ขากลับปั่นไวโคตรๆครับ 26-30 ตลอดทาง จักรยานพับ ล้อเล็กๆอย่างผม ปั่นแทบหมดแรง
ระหว่างทาง มีอุบัติเหตุหนักรอบนึงครับ พี่ที่ขี่ตามหลังผม ตกร่องพื้นถนนที่แตก ยางนอกขาด เข่าและศอกกระแทกพื้น แต่ยังดีครับ ที่หัวไม่เป็นอะไร กลุ่มเราก็มีเภสัชมาปั่นด้วย ยาและอุปกรณ์พร้อมครับ โชคดีไป ส่วนจักรยานไม่ต้องห่วง พร้อมเสมอ ยกเว้น ยางนอก ต้องปะเอาครับ ไม่มีใครเอามาเปลี่ยนแบบยางใน พอทำแผล ซ่อมรถเสร็จ เราก็ปั่นไปถึงท่าเรือครับ ตอนแรกได้ยินว่าจะเอาขึ้นแพ แต่จริงๆ เป็นเรือใหญ่ครับ เอาไว้ขนรถข้ามฟากได้ 10 คันเลย สำหรับจักรยาน ก็ ไปพร้อมกันหมดครับ รวดเดียว เกือบร้อยคัน




พอข้ามมาถึงอีกฝั่ง เราก็ปั่นกลับกันครับ ตามเส้นทางเดิม พอเลยสามแยกมาได้ 10 Km ก้แวะพักร้านน้ำแข็งไส กินน้ำ แล้วก็น้ำแข็งไสกันซักพัก ก่อนปั่นกลับไปที่ Workpoint ขากลับ ปั่นด้วยความเร็วที่ 20 Km/h ไปพร้อมกับคุณกิต ตะคริวผมก็เริ่มมาอีกรอบครับ กลัวกลับไม่ไหวเหมือน เลยขอปั่นช้าๆดีกว่า อีกอย่าง เจ็บก้นมากครับ มาถึง workpoint ได้ค่อยโล่งใจครับ มีพี่ๆเพื่อนๆมาถึงก่อนหน้านี้นั่งกันอยู่ที่ร้านน้ำ
กว่าจะกลับมาถึงก็หกโมงพอดีครับ พักซักแป๊บ ผมก็ปั่นกลับหอพักต่อ ขากลับลองยืนปั่น ปรากฏว่าทำความเร็วได้ 37 Km/h ไว้คราวหลังยืนปั่นไล่กวดหมอบดีกว่า อิอิ ไม่เจ็บก้น แต่เหนื่อยโคตร

กลับมาถึง อยากนอนสุดๆ แต่... ต้องล้างจักรยาน แล้วก็กลับบ้าน หุหุ
กลับมาถึงบ้าน หลับเป็นตายครับ ตื่นอีกทีก็เที่ยงครึ่ง

สรุป
Distance       : 112 Km
Avg Speed   : 22-24 ขาไป, 26-30 ขากลับก่อนถึงสามแยก, 20 จากสามแยกไป workpoint

เพื่อนใหม่ แต่ยังไม่รู้จักชื่อ

พี่หมี

ลุงภพ ปั่นเร็วมากครับ

คุณชา ปั่นเสือภูเขา
พี่ลี ปั่นเร็วเหมือนกันครับ ตามไม่ทันเลย

ขากลับ ปั่นตามลุงคนนี้ครับ อึดมากจริงๆ

ภาพหมู่